จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์





เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
          เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ หมายถึง เครื่องมือในการตรวจสอบและศึกษาสิ่งที่อยู่บนพื้นผิวโลก และบรรยากาศของโลก จึงได้ถูกออกแบบมาเพื่อตรวจสอบและบันทึกข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ ทั้งทางด้านข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลทางคุณภาพ เช่น การกำหนดพิกัดบนพื้นผิวโลก การวัดทิศทางการเก็บข้อมูลภาคสนาม ในพื้นที่ต่าง ๆ หรือใช้เป็นเครื่องมือประกอบการเรียนรู้ในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
          1. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทให้ข้อมูล
             1.1 แผนที่ (Map) เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง โดยการย่อข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏบนพื้นโลกให้มีขนาดเล็กลงตามมาตราส่วน และแสดงข้อมูลดังกล่าวด้วยสัญลักษณ์ลงบนวัสดุต่าง ๆ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แผนที่
แผนที่

             1.2 รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photography) เป็นรูปภาพแสดงภูมิประเทศที่ปรากฏบนพื้นผิวโลก ถ่ายโดยใช้กล้องถ่ายรูปติดไว้กับเครื่องบิน ส่วนหน่วยงานที่จัดทำรูปถ่ายทางอากาศ คือ กรมแผนที่ทหาร  กระทรวงกลาโหม การนำไปไปใช้ประโยชน์มี ดังนี้

                   1) ทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงในลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ต่าง ๆ
                   2) การวางแผนพัฒนาการใช้ที่ดิน
                   3) การอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพถ่ายทางอากาศ
ภาพถ่ายทางอากาศ
         1.3 ภาพจากดาวเทียม
                   1 ภาพจากดาวเทียม (Satellite Imagery) ให้ประโยชน์อย่างมากในการศึกษาข้อมูลเพื่อสำรวจแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
                   2 การทำงานรับภาพของดาวเทียม เรียกว่า กระบวนการรีโมทเซนซิ่ง (Remote Sensing) โดย ดาวเทียมจะเก็บข้อมูลของวัตถุหรือพื้นที่เป้าหมายบนพื้นผิวโลก จากรังสีที่สะท้อนขึ้นไปจากผิวโลกหรือจากอุณหภูมิของวัตถุนั้น ๆ บนพื้นผิวโลกจากนั้นดาวเทียมจะส่งข้อมูลเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามายังสถานีภาคพื้นดิน ซึ่งจะบันทึกเป็นข้อมูลเชิงตัวเลขในแถบบันทึกข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ และนำเสนอเป็นแผ่นฟิล์ม
                  3 ภาพจากดาวเทียวให้ประโยชน์ในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ คือ นำมาใช้จัดทำแผนที่แสดงภูมิ
ประเทศของพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งจะให้รายละเอียดของตำแหน่งต่าง ๆ บนพื้นโลกชัดเจนยิ่งขึ้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปถ่ายจากดาวเทียม
ภาพถ่ายทางดาวเทียม
             1.4 อินเทอร์เน็ต
                  1 อินเทอร์เน็ต (Internet) หรือ ไซเบอร์สเปซ (Cyber Space) คือ ระบบการสื่อสารด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานทั่วโลกเข้า
                  2 บริการในอินเทอร์เน็ต (World WildWeb : WWW) จะให้บริการข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง หรือภาพยนตร์ ข้อมูลเหล่านี้ เรียกว่า “เว็บเพจ” (Web Page) มีการเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลกคล้ายใยแมงมุม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต
              1.5 ลูกโลกจำลอง
                   ลูกโลกจำลองเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อจำลองลักษณะของโลก แสดงที่ตั้งอาณาเขต พรมแดนของประเทศต่างๆและลูกโลกจำลองยังสามารถใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนเกี่ยวกับโลกได้เป็นอย่างดี
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลูกโลกจําลอง
ลูกโลกจำลอง
          2. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทใช้หาข้อมูล
              2.1 เข็มทิศ (Compass) เป็นเครื่องมือบอกทิศอย่างง่าย ๆ โดยจะทำปฏิกิริยากับแม่เหล็กโลกและแสดงค่าของมุมบนหน้าปัด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เข็มทิศ
เข็มทิศ
              2.2 เครื่องมือวัดพื้นที่ (Planimeter) มีลักษณะคล้ายไม้บรรทัดทำด้วยโลหะยาวประมาณ 1 ฟุต ใช้สำหรับวัดพื้นที่ในแผนที่ โดยเครื่องจะคำนวณให้ทราบค่าของพื้นที่และแสดงค่าบนหน้าปัด
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
เครื่องมือวัดพื้นที่
              2.3 เทปวัดระยะทางใช้สำหรับวัดระยะทางของพื้นที่ เมื่อลงไปสำรวจหรือเก็บข้อมูลภาคสนาม เทปวัดระยะทางมี 3 ชนิด ได้แก่ เทปที่ทำด้วยผ้า เทปที่ทำด้วยโลหะ และเทปที่ทำด้วยโซ่
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เทปวัดระยะทาง
เทปวัดระยะทาง
              2.4 เครื่องย่อขยายแผนที่ (Pantograph) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดทำแผนที่อย่างหนึ่ง เพื่อย่อหรือขยายแผนที่ให้ได้ขนาดหรือมาตราส่วนตามที่ต้องการ
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
เครื่องย่อขยายแผนที่
              2.5 กล้องวัดระดับ (Telescope) เป็นอุปกรณ์วัดระดับความสูงจากพื้นดิน เพื่อสำรวจพื้นที่สร้างถนน โดยจะช่วยกำหนดระดับแนวถนนได้ตามที่ต้องการ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กล้องวัดระดับ
กล้องวัดระดับ
              2.6 กล้องสามมิติ (Stereoscope) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูรูปถ่ายทางอากาศ เพื่อพิจารณาความสูงต่ำของ
ลักษณะภูมิประเทศ ในพื้นที่นั้น ๆ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กล้องสามมิติ
กล้องสามมิติ
              2.7 กล้องสามมิติแบบพกพา เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูรูปถ่ายทางอากาศ เพื่อพิจารณาความสูงต่ำของ ลักษณะภูมิประเทศ ในพื้นที่นั้น ๆ
              2.8 เครื่องมือวัดลักษณะอากาศแบบต่าง ๆ เช่น
                  (1) เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดอุณหภูมิของอากาศ โดยทั่วไปนิยมใช้แบบหลอดแก้วที่บรรจุปรอทหรือแอลกอฮอล์ไว้ภายใน ค่าของอุณหภูมิมี 2 ระบบ ดังนี้
                    - ระบบเซลเซียส
                    - ระบบฟาเรนไฮต์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เทอร์โมมิเตอร์แบบองศาเซลเซียส
เทอร์โมมิเตอร์
                  (2) บาโรมิเตอร์ (Barometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดความกดอากาศ มี 2 ชนิด คือ
                    - แบบแอนิรอยด์ (Aneroid) เป็นแบบตลับโลหะขนาดเล็ก ที่หน้าปัดจะมีเข็มแสดงค่าความกดอากาศไว้
                    - แบบปรอท ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ 2 อย่าง คือ หลอดแก้วและอ่างแก้วที่บรรจุปรอท
                   
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ บารอมิเตอร์แบบปรอท
แบบแอนิรอยด์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ บารอมิเตอร์แบบปรอท
แบบปรอท

                  (3) เครื่องวัดน้ำฝน (Rain Gauge)  เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวัดปริมาณน้ำฝนโดยใช้ อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีกรวยต่อภาชนะรองรับ ภายในปากภาชนะรองรับมีขนาดแคบและพอดีกับกรวยเพื่อลดการสูญเสียเนื่องจากการระเหย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เครื่องวัดน้ำฝน
เครื่องวัดน้ำฝน

                  (4) แอโรแวน (Aero vane) เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดทิศทางและความเร็วของลม แยกตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ชนิด ดังนี้  
                    - วินแวน (Wind Vane) ใช้วัดทิศทางของลม มีสัญลักษณ์เป็นรูปไก่หรือลูกศร
                    - แอนนิโมมิเตอร์ (Anemometer) ใช้วัดความเร็วของลม
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
วินแวน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แอนนิโมมิเตอร์
แอนนิโมมิเตอร์
                  (5) ไฮโกรมิเตอร์ (Hygrometer)ใช้วัดความชื้นของอากาศโดยมีเส้นผมเป็นอุปกรณ์สำคัญ ถ้าอากาศมีความชื้นสูงจะทำให้เส้นผมยืดตัว แต่ถ้ามีความชื้นน้อยเส้นผมจะหดตัว ทั้งนี้หน้าปัดจะแสดงค่าความชื้นบนกระดาษกราฟให้เห็น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ไฮโกรมิเตอร์
ไฮโกรมิเตอร์
                  (6) ไซโครมิเตอร์ (Psychrometer) เป็นอุปกรณ์ใช้วัดความชื้นของอากาศอีกแบบหนึ่ง ประกอบด้วยเทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน คือ เทอร์โมมิเตอร์ปรอท (เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มแห้ง) และเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้ผ้ามัสลินหล่อน้ำให้เปียกอยู่ตลอดเวลา (เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มเปียก)




ศึกษาเพิ่มเติม :
                 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ http://geography-mc.blogspot.com/2017/04/blog-post.html
                 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/13334/025652
                 เครื่องมือและสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ https://sites.google.com/site/gem2kkr/person

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การศึกษาวิชาภูมิศาสตร์


ภาพแผนที่และเข็มทิศ

การศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน มีอยู่มากมายหลายสาขา แต่ในที่นี้แบ่งตามลักษณะเนื้อหาความรู้ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้ ดังนี้

·       ภูมิศาสตร์ภูมิภาค
·       ภูมิศาสตร์กายภาพ
·       ภูมิศาสตร์มนุษย์
·       ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ภูมิศาสตร์ภูมิภาค
          ภูมิศาสตร์ภูมิภาค เป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ที่ศึกษาถึงท​​ุกภูมิภาคของโลกซึ่งแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างเฉพาะตัว หลักสำคัญของภูมิศาสตร์ภูมิภาคคือเพื่อเข้าใจถึงเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะตัวของภูมิภาคนั้น ๆ โดยจะมุ่งเน้นในการศึกษาข้อมูลเชิงพื้นที่หรือบุคคล, ปฏิสัมพันธ์ของวัฒนธรรมและธรรมชาติ, ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ของที่ดินและภูมิประเทศที่ทำการศึกษาอย่างเช่นพื้นที่ต่าง ๆ อย่างบริเวณชายแดน, ชายทะเล ซึ่งต่างจากสาขาของภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่ที่จะมุ่งเน้นในการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ในระดับโลก โดยภูมิศาสตร์ภูมิภาค เน้นศึกษาภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ ทั้งในระดับทวีปหรือระดับภูมิภาคของโลก เช่น ทวีปเอเชีย หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฯลฯ เพื่อให้เข้าใจลักษณะภูมิประเทศภูมิประเทศ อากาศ หรือ ทรัพยากรธรรมชาติของแต่ละพื้นที่
         
ภูมิศาสตร์กายภาพ
          ภูมิศาสตร์กายภาพ เป็นหนึ่งในสองสาขาหลักของภูมิศาสตร์และเป็นสาขาย่อยของสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงกระบวนการและแบบรูปของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น บรรยากาศ อุทกภาค ชีวมณฑล และธรณีภาค ตรงข้ามกับภูมิศาสตร์มนุษย์ที่เน้นทางวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างมากกว่า โดยภูมิศาสตร์กายภาพ เน้นศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของเปลือกโลก เช่น การเกิดเทือกเขา ที่ราบสูง ลักษณะของหินเปลือกโลก และบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก เป็นต้น
         
ภูมิศาสตร์มนุษย์
          ภูมิศาสตร์มนุษย์ เป็นหนึ่งในสองสาขาหลักของภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์มนุษย์คือการศึกษาความเข้าใจและการใช้งานผืนโลกของมนุษย์ และกระบวนการที่มีผลกระทบต่อสิ่งนั้น มันเกี่ยวโยงกับทั้งสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยภูมิศาสตร์มนุษย์เน้นศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของประชากร ในด้านชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมและประเพณี สภาพการเมือง สังคม และเศรษฐกิจของมนุษย์ เป็นต้น

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
          ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดข้อมูลเชิงบรรยายหรือข้อมูลคุณลักษณะ (attribute data) และสารสนเทศ โดยเน้นศึกษาการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ เช่น การอ่านและเขียนแผนที่ การแปลความหมายรูปถ่ายทางอากาศ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์ภาพจากดาวเทียม การจัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น





ศึกษาเพิ่มเติม :

                  ภูมิศาสตร์ https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/geography/index.html
                  ภูมิศาสตร์กายภาพ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8
                  ภูมิศาสตร์มนุษย์ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0
                  ภูมิศาสตร์ภูมิภาค https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E
                  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%B0B2%E0

         

ความหมายของวิชาภูมิศาสตร์



วิชาภูมิศาสตร์ (Geography)

ภาพลูกโลกและแผนที่

      
          คนทั่วไปหากถามถึงวิชาภูมิศาสตร์น้อยคนนักที่จะตอบได้ว่ารายวิชานี้คืออะไร ศึกษาเกี่ยวกับอะไร ความเข้าในในเนื้อหาวิชาน้อยมาก อาจจะเพราะรายวิชานี้มิใช่เนื้อหาวิชาหลัก หากแต่เป็นเพียงรายวิชาหนึ่งในสาขาสังคมเท่านั้น ในที่นี้จะกล่าวถึง ความหมายของวิชาภูมิศาสตร์ เพื่อที่จะตอบคำถามข้างต้นที่กล่าวมา                
          คำว่า ภูมิศาสตร์ แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า Geography ซึ่งมีรากฐานมาจากภาษากรีก โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกชื่อ เอราทอสเทนิส โดยการนำคำจากภาษากรีก สองคำมารวมกัน คือคำว่า geo ที่หมายถึง "โลก" และคำว่า graphein ที่หมายถึง "เขียน" จึงไม่แปลกใจที่งานเขียนทางภูมิศาสตร์ในยุคแรกจึงเป็นงานเขียนเกี่ยวกับโครงสร้างของโลก และธรรมชาติของกิจกรรมมนุษย์ แต่ในปัจจุบันได้มีผู้ให้ความหมายใหม่ๆ เช่น                 
          ความหมายตามพจนานุกรม คำว่า ภูมิศาสตร์ เป็นคำนาม หมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสังคมในดินแดนต่าง  ของโลกทั้งในอดีต และปัจจุบัน
          ริชาร์ด ฮาร์ดชอร์น ได้ให้ ความหมายของวิชาภูมิศาสตร์ในหนังสือ Perspective on the Nature of geography (1959) ดังนี้ "ภูมิศาสตร์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการพรรณนาและการตีความคุณลักษณะที่แปรผันหลากหลายของพื้นผิวโลกอย่างถูกต้อง เป็นระเบียบ และมีเหตุผล" (Haggett, 1994, p.220)
          ดังนั้น ภูมิศาสตร์ (geography) จึงหมายถึง ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก ความสัมพันธ์ระว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสังคม รวมไปถึงการผันแปรของพื้นผิวโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
          ปัจจุบันการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ จะมุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องต้นที่เกี่ยวกับพื้นที่มากกว่าที่จะศึกษาลักษณะเฉพาะและสถานที่ต่าง  ของโลกอย่างคร่าว  อย่างที่เคยปฏิบัติขึ้นมาในระยะแรก  ภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแนวทางมาสู่การศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น  โดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้การศึกษานี้พิจารณาว่า "มีสิ่งใดบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้น และแต่ละสิ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร" โดยถือรูปแบบและวิธีการดังกล่าวว่า เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ภายใต้สภาวะต่าง  ที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะหรือเกิดปรากฏการณ์พิเศษในพื้นที่นั้น  ขึ้น และถือว่าเป็น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาของโลก ลักษณะทางสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยจะมีความเกี่ยวเนื่องและมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในแต่ละลักษณะที่กล่าวถึง





ศึกษาเพิ่มเติม
 : 
ภูมิศาสตร์คืออะไรhttps://sites.google.com/site/daochalongkhow/45-khatham-phumi-sastr/31-1
กุลยา วิวิตเสวี. (2548). วิวัฒนาการแนวคิดทางภูมิศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง : กรุงเทพฯx



เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์           เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ หมายถึง เครื่องมือในการตรวจสอบและศึกษาสิ่งที่อยู่บนพื้นผิวโลก และบรรยากา...