ภาพแผนที่และเข็มทิศ |
การศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน มีอยู่มากมายหลายสาขา แต่ในที่นี้แบ่งตามลักษณะเนื้อหาความรู้ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้ ดังนี้
· ภูมิศาสตร์ภูมิภาค
· ภูมิศาสตร์กายภาพ
· ภูมิศาสตร์มนุษย์
· ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์ภูมิภาค
ภูมิศาสตร์ภูมิภาค
เป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ที่ศึกษาถึงทุกภูมิภาคของโลกซึ่งแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างเฉพาะตัว
หลักสำคัญของภูมิศาสตร์ภูมิภาคคือเพื่อเข้าใจถึงเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะตัวของภูมิภาคนั้น
ๆ โดยจะมุ่งเน้นในการศึกษาข้อมูลเชิงพื้นที่หรือบุคคล, ปฏิสัมพันธ์ของวัฒนธรรมและธรรมชาติ, ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ของที่ดินและภูมิประเทศที่ทำการศึกษาอย่างเช่นพื้นที่ต่าง
ๆ อย่างบริเวณชายแดน, ชายทะเล ซึ่งต่างจากสาขาของภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่ที่จะมุ่งเน้นในการศึกษาปัจจัยต่าง
ๆ ในระดับโลก โดยภูมิศาสตร์ภูมิภาค เน้นศึกษาภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่
ทั้งในระดับทวีปหรือระดับภูมิภาคของโลก เช่น ทวีปเอเชีย
หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฯลฯ เพื่อให้เข้าใจลักษณะภูมิประเทศภูมิประเทศ อากาศ
หรือ ทรัพยากรธรรมชาติของแต่ละพื้นที่
ภูมิศาสตร์กายภาพ
ภูมิศาสตร์กายภาพ
เป็นหนึ่งในสองสาขาหลักของภูมิศาสตร์และเป็นสาขาย่อยของสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงกระบวนการและแบบรูปของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
เช่น บรรยากาศ อุทกภาค ชีวมณฑล และธรณีภาค
ตรงข้ามกับภูมิศาสตร์มนุษย์ที่เน้นทางวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างมากกว่า
โดยภูมิศาสตร์กายภาพ เน้นศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของเปลือกโลก เช่น
การเกิดเทือกเขา ที่ราบสูง ลักษณะของหินเปลือกโลก และบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก
เป็นต้น
ภูมิศาสตร์มนุษย์
ภูมิศาสตร์มนุษย์
เป็นหนึ่งในสองสาขาหลักของภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์มนุษย์คือการศึกษาความเข้าใจและการใช้งานผืนโลกของมนุษย์
และกระบวนการที่มีผลกระทบต่อสิ่งนั้น
มันเกี่ยวโยงกับทั้งสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยภูมิศาสตร์มนุษย์เน้นศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของประชากร
ในด้านชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมและประเพณี สภาพการเมือง สังคม
และเศรษฐกิจของมนุษย์ เป็นต้น
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic
Information System : GIS) คือ
กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์
โดยการกำหนดข้อมูลเชิงบรรยายหรือข้อมูลคุณลักษณะ (attribute data) และสารสนเทศ โดยเน้นศึกษาการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ เช่น
การอ่านและเขียนแผนที่ การแปลความหมายรูปถ่ายทางอากาศ
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์ภาพจากดาวเทียม การจัดเก็บ
และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น
ศึกษาเพิ่มเติม
:
ภูมิศาสตร์กายภาพ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8
ภูมิศาสตร์มนุษย์ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0
ภูมิศาสตร์ภูมิภาค https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%B0B2%E0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น